ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย :วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (อาหารสุขภาพและโภชนาการ) หรือ วท.ม. (อาหารสุขภาพและโภชนาการ)
ภาษาอังกฤษ : –
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : Master of Science (Food Packaging Technology)
ชื่อย่อ : M.Sc. (Food Packaging Technology)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Master of Science (Food Science and Technology)
ชื่อย่อ : M.Sc. (Food Science and Technology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- แผน ก 1 36 หน่วยกิต
- แผน ก 2 36 หน่วยกิต
- แผน ข 36 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาหารสุขภาพและโภชนาการ (หลักสูตรนานาชาติ) มุ่งเน้นให้มหาบัณฑิต มีแนวคิดในการทำวิจัยสามารถพิสูจน์ข้อมูล มีความรู้ความเข้าใจโดยการนาศาสตร์สาขาต่างๆ มาใช้เพื่อบูรณาการกระบวนการสร้างและประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านอาหารสุขภาพและโภชนาการ จัดการศึกษาตามแนวทางพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือการพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียนเพื่อการพัฒนางาน สังคม สิ่งแวดล้อม และการเรียนรู้ตลอดชีพ เป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาการและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (http://webagro.psu.ac.th)
การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยจากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะการใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs)
- PLO1 อธิบายผลของอาหารสุขภาพที่มีต่อสุขภาพเบื้องต้นสำหรับคนทั่วไป ผู้ป่วย หรือสัตว์เลี้ยง
- PLO2 เลือกใช้เครื่องมือเพื่อทดสอบและประเมินผลของอาหารสุขภาพที่มีต่อสุขภาพได้อย่างเหมาะสมในระดับหลอดทดลอง (in vitro)
- PLO3 ผลิตวัตถุดิบอาหารสุขภาพหรือผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพโดยใช้กระบวนการผลิตที่ไม่ซับซ้อนสาหรับคนทั่วไป ผู้ป่วย หรือสัตว์เลี้ยงได้
- PLO4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าองค์ความรู้ทางด้านอาหารสุขภาพและโภชนาการได้
- PLO5 สื่อสารและนำเสนอผลงานวิชาการได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น
- PLO6 แสดงพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการมีคุณธรรมจริยธรรมและความรับผิดชอบ
- PLO7 ทำงานร่วมกับผู้อื่นในฐานะผู้นาและผู้ตามที่ดี
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก 1 | 36 หน่วยกิต |
---|---|
หมวดวิชาบังคับ | -หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือก | – หน่วยกิต |
วิทยานิพนธ์ | 36 หน่วยกิต |
แผน ก 2 | 36 หน่วยกิต |
---|---|
หมวดวิชาบังคับ | 12 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือก | 6 หน่วยกิต |
วิทยานิพนธ์ | 18 หน่วยกิต |
แผน ข | 36 หน่วยกิต |
---|---|
หมวดวิชาบังคับ | 12 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือก | 18 หน่วยกิต |
วิทยานิพนธ์ | 6 หน่วยกิต |
เกณฑ์การรับเข้า
- นักศึกษาต้องผ่านการสอบภาษาอังกฤษ PSU TEP หรือมีผลการสอบอื่นๆ ที่เทียบเท่าตามเกณฑ์ที่กำหนดของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ก่อนการสำเร็จการศึกษา
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กาหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ (ยกเว้น แผน ก 1)
- แผน ก 1 สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสาหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 1 รายการ
- แผน ก 2 สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสาหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นาเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ(Proceedings) ดังกล่าว อย่างน้อย 1 รายการ
- แผน ข สำหรับรายงานสารนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของรายงานสารนิพนธ์ต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้ อย่างน้อย 1 รายการ
เกณฑ์สำเร็จการศึกษา
แผน ก 1
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
- ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามข้อบังคับ ระเบียบและประกาศของบัณฑิตวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง
แผน ก 2
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
- สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว อย่างน้อย 1 รายการ
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
- ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามข้อบังคับ ระเบียบและประกาศของบัณฑิตวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง
แผน ข
- ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และสอบผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) ด้วยข้อเขียนและ/หรือปากเปล่าในสาขาวิชานั้น พร้อมทั้งเสนอรายงานสารนิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบสารนิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าฟังได้
- สำหรับรายงานสารนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของรายงานสารนิพนธ์ต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้
- ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
- ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามข้อบังคับ ระเบียบและประกาศของบัณฑิตวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง
รายชืืื่อบุคลากร
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ผศ. ดร. จุฑา ทาคาฮาชิ ยูปันคิ
รศ. ดร. สันทัด วิเชียรโชติ
ผศ. ดร. วัชรี สีห์ชำนาญธุรกิจ
กรรมการบริหารหลักสูตร
สื่อประชาสัมพันธ์
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหาร
ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Food Packaging Technology
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : Master of Science (Food Packaging Technology)
ชื่อย่อ : M.Sc. (Food Packaging Technology)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Master of Science (Food Science and Technology)
ชื่อย่อ : M.Sc. (Food Science and Technology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- 36 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
–
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
–
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก* | 36 หน่วยกิจ |
---|---|
วิทยานิพนธ์ | 36 หน่วยกิจ |
แผนการศึกษา
- แผนการศึกษาตลอดหลักสูตร
เกณฑ์สำเร็จการศึกษา
–
รายชื่อบุคลากร
อาจารย์ประจำหลักสูตร
กรรมการบริหารหลักสูตร
Assoc.Prof.Dr. Waranyou Sridach
Asst.Prof.Dr. Ladawan Songtipya