คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

สาขาวิชาการกำหนดอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ (นานาชาติ)

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย :  วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการกำหนดอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Dietetics and Nutrition for Health (International Program)

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (การกำหนดอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ)
ชื่อย่อ :วท.บ. (การกำหนดอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ)

ภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Science (Dietetics and Nutrition for Health)
ชื่อย่อ :  B.Sc. (Dietetics and Nutrition for Health)

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

  • ปรแกรมแบบปกติ 138 หน่วยกิต
  • โปรแกรมแบบก้าวหน้า 144 หน่วยกิต

ปรัชญาการศึกษา

       หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการกำหนดอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการบูรณาการในศาสตร์ที่หลากหลายและเกี่ยวข้องกับการกำหนดอาหาร โภชนาการและอาหารสุขภาพ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจ ความเชี่ยวชาญในการกำหนดอาหาร การดูแลสุขภาพและบำบัดด้วยโภชนาการ สามารถทำงานในการกำหนดอาหาร สร้างนวัตกรรมเชิงสังคมและเชิงพาณิชย์ เพื่อพัฒนาอาหารสุขภาพสำหรับทุกกลุ่มวัยและอาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคต่างๆ นอกจากนี้หลักสูตรยังมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่สามารถประเมินภาวะโภชนาการ ส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภค ป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพประชาชนทั้งระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน ด้วยโภชนาการและอาหารสุขภาพ อาหารทางการแพทย์ ตลอดจนสามารถให้คำปรึกษาด้านโภชนาการกับผู้ป่วยที่เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการ โรคเรื้อรัง ผู้ป่วยเฉพาะโรค เช่น โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไต และโรคมะเร็ง เป็นต้น อันจะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในประเทศและในภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน กระบวนการจัดการศึกษาจึงออกแบบให้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ มีการลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียนเพื่อให้เกิดการพัฒนาในทุกด้าน เพื่อให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ ตระหนัก และสามารถรับผิดชอบต่องาน สังคม สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้และพัฒนาตนได้ตลอดชีพ

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs)

  • PLO1 บูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร โภชนาการและการกำหนดอาหารเพื่อกำหนดอาหารตามช่วงวัยและอาหารทางการแพทย์
  • PLO2 ออกแบบกระบวนการเพื่อการผลิตอาหารได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายอาหาร
  • PLO3 ออกแบบและพัฒนาอาหารเฉพาะและอาหารทางการแพทย์เพื่อการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้
  • PLO4 แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อหน้าที่และปฏิบัติงานได้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ
  • PLO5 สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น
  • PLO6 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 138/144 หน่วยกิต
โปรแกรมแบบปกติ138 หน่วยกิต
โปรแกรมแบบก้าวหน้า144 หน่วยกิต

เกณฑ์สำเร็จการศึกษา

  1. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรีและการศึกษาตลอดชีวิต พ.ศ. 2563 โดยต้องเรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00 จากระบบ 8 ระดับคะแนน ในระยะเวลาที่กำหนด
  2. ผ่านกิจกรรมตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (100 ชั่วโมง)
  3. มีผลการสอบภาษาอังกฤษที่เป็นไปตามเกณฑ์ที่ระบุในตารางด้านล่าง
Type of TestThe passed score
PSU-test (Reading Part)Not less than 60
TOEICNot less than 420
TOELF (computer-based or equivalent)Not less than 450
IELTSNot less than 5

รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)

รายชื่อบุคลากร

อาจารย์ประจำหลักสูตร

preeya.h

Dr. Preeyabhorn Detarun

ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

Assoc. Prof. Dr. Sunisa Siripongvutikorn

Nualpun
Asst. Prof. Dr. Nualpun Sirinupong

Dr. Worrapanit Chansuwan

yongyuth
Dr. Yongyuth Theapparat

สื่อประชาสัมพันธ์

ข่าวเกี่ยวกับหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย :  วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการกำหนดอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Dietetics and Nutrition for Health (International Program)

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (การกำหนดอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ)
ชื่อย่อ :วท.บ. (การกำหนดอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ)

ภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Science (Dietetics and Nutrition for Health)
ชื่อย่อ :  B.Sc. (Dietetics and Nutrition for Health)

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

  • ปรแกรมแบบปกติ 138 หน่วยกิต
  • โปรแกรมแบบก้าวหน้า 144 หน่วยกิต

ปรัชญาการศึกษา

       หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการกำหนดอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการบูรณาการในศาสตร์ที่หลากหลายและเกี่ยวข้องกับการกำหนดอาหาร โภชนาการและอาหารสุขภาพ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจ ความเชี่ยวชาญในการกำหนดอาหาร การดูแลสุขภาพและบำบัดด้วยโภชนาการ สามารถทำงานในการกำหนดอาหาร สร้างนวัตกรรมเชิงสังคมและเชิงพาณิชย์ เพื่อพัฒนาอาหารสุขภาพสำหรับทุกกลุ่มวัยและอาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคต่างๆ นอกจากนี้หลักสูตรยังมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่สามารถประเมินภาวะโภชนาการ ส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภค ป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพประชาชนทั้งระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน ด้วยโภชนาการและอาหารสุขภาพ อาหารทางการแพทย์ ตลอดจนสามารถให้คำปรึกษาด้านโภชนาการกับผู้ป่วยที่เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการ โรคเรื้อรัง ผู้ป่วยเฉพาะโรค เช่น โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไต และโรคมะเร็ง เป็นต้น อันจะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในประเทศและในภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน กระบวนการจัดการศึกษาจึงออกแบบให้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ มีการลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียนเพื่อให้เกิดการพัฒนาในทุกด้าน เพื่อให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ ตระหนัก และสามารถรับผิดชอบต่องาน สังคม สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้และพัฒนาตนได้ตลอดชีพ

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 138/144 หน่วยกิต
โปรแกรมแบบปกติ138 หน่วยกิจ
โปรแกรมแบบก้าวหน้า144 หน่วยกิจ

แผนการศึกษา

เกณฑ์สำเร็จการศึกษา

  1. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรีและการศึกษาตลอดชีวิต พ.ศ. 2563 โดยต้องเรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00 จากระบบ 8 ระดับคะแนน ในระยะเวลาที่กำหนด
  2. ผ่านกิจกรรมตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (100 ชั่วโมง)
  3. มีผลการสอบภาษาอังกฤษที่เป็นไปตามเกณฑ์ที่ระบุในตารางด้านล่าง

รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)

รายชื่อบุคลากร

อาจารย์ประจำหลักสูตร

preeya.h
ดร. ปรียาภรณ์ เดชอรัญ
ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
ดร. วรพนิต จันทร์สุวรรณ์
Assoc.Prof.Dr. Sunisa Siripongvutikorn
Nualpun
Asst. Prof. Dr. Nualpun Sirinupong
yongyuth
Dr. Yongyuth Theapparat

ข่าวเกี่ยวกับหลักสูตร