คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

กลับไปเว็บไซต์เดิม

สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ หลักสูตรนานาชาติ (Biotechnology(International Program)

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย     : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาษาอังกฤษ  : Master of Science Program in Biotechnology (International Program)

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย

ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ)
ชื่อย่อ  : วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ)


ภาษาอังกฤษ

ชื่อเต็ม : Master of Science (Biotechnology)
ชื่อย่อ  : M.Sc. (Biotechnology)

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

  • แผน ก 1                     ไม่น้อยกว่า      36      หน่วยกิต

  • แผน ก 2                    ไม่น้อยกว่า      36      หน่วยกิต

ปรัชญาการศึกษา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (หลักสูตรนานาชาติ) เน้นให้ผู้เรียนมีความรู้และความสามารถในการค้นคว้าวิจัยเพื่อให้เกิดประยุกต์ใช้ความรู้ใหม่ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ อาหาร        พลังงาน และสิ่งแวดล้อม ที่ตอบสนองอุตสาหกรรมเกษตรในภาคใต้ พร้อมทั้งเป็นผู้ที่ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม มีความคิดสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติจริง โดยการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางพิพัฒนาการนิยม (Progressivism)

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs)

  • PLO1 แสดงออกถึงการมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ
  • PLO2 ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหารและพลังงาน และสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรในภาคใต้
  • PLO3 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศค้นคว้าและเรียนรู้เทคโนโลยี นวัตกรรม และสถานการณ์โลกด้วยตนเอง
  • PLO4 เสนอแนวความคิดสำหรับการประกอบการธุรกิจทางเทคโนโลยีชีวภาพ
  • PLO5 สามารถสื่อสารเชิงวิชาการได้ถูกต้องและตรงประเด็น

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก* 36 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
แผน ก 2* 36 หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 18 หน่วยกิต

* นักศึกษาที่ไม่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพหรือสาขาวิชาอื่นที่ใกล้เคียงกัน ต้องลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 853-523 พื้นฐานเทคนิควิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ (Fundamental Research Techniques in Biotechnology) แบบไม่นับหน่วยกิตรวมในหลักสูตร โดยอยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

เกณฑ์การรับเข้า

เกณฑ์สำเร็จการศึกษา

      นักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาได้ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 28 กันยายน 2563 หน้า 14 หมวดที่ 6 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

แผน ก 1

  1. เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
  2. สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการ
  3. ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
  4. ชำระหนี้สินทั้งหมดต่อมหาวิทยาลัยเรียบร้อยแล้ว
  5. ปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นๆ ตามที่มหาวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย คณะ หรือหลักสูตรกำหนด ทั้งนี้เงื่อนไขที่คณะหรือหลักสูตรกำหนด ต้องผ่านความเห็นชอบจากบัณฑิตวิทยาลัย

 

แผน ก 2

  1. ต้องสอบผ่านรายวิชาต่างๆ และมีจำนวนหน่วยกิตครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมของรายวิชาตามหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3.00 และ
  2. เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ และ
  3. สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในรายงานการประชุมเชิงวิชาการในระดับชาติหรือนานาชาติ (Proceeding) อย่างน้อย 1 รายการ
  4. ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
  5. ชำระหนี้สินทั้งหมดต่อมหาวิทยาลัยเรียบร้อยแล้ว
  6. ปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นๆ ตามที่มหาวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย คณะ หรือหลักสูตรกำหนด ทั้งนี้เงื่อนไขที่คณะหรือหลักสูตรกำหนด ต้องผ่านความเห็นชอบจากบัณฑิตวิทยาลัย

รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)

รายชืืื่อบุคลากร

อาจารย์ประจำหลักสูตร

aphi

ผู้ช่วยศาสตราจรย์ ดร.อภิชาติ อู๋ไพจิตร

Assoc.Prof.Dr. Piyarat Boonsawang

รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยะรัตน์ บุญแสวง

ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
suppasil-2

รองศาสตราจรย์ ดร.ศุภศิลป์ มณีรัตน์

กรรมการบริหารหลักสูตร

wiriya-2

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิริยะ ดวงสุวรรณ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา ธรรมรัตน์

สื่อประชาสัมพันธ์

ข่าวเกี่ยวกับหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย     :  วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหาร
ภาษาอังกฤษ  :  Master of Science Program in Food Packaging Technology

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย

ชื่อเต็ม : Master of Science (Food Packaging Technology)
ชื่อย่อ  : M.Sc. (Food Packaging Technology)


ภาษาอังกฤษ

ชื่อเต็ม : Master of Science (Food Science and Technology)
ชื่อย่อ  : M.Sc. (Food Science and Technology)

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

  • แผน ก 1 36 หน่วยกิต
  • แผน ก 2 36 หน่วยกิต
  • แผน ข  36 หน่วยกิต

ปรัชญาการศึกษา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหาร มุ่งเน้นผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการพัฒนา ปรับปรุงและแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหารผ่านกระบวนการวิจัยด้วยการบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ในการปรับปรุงและพัฒนาสมบัติของวัสดุบรรจุภัณฑ์อาหาร กระบวนการบรรจุและการออกแบบ โดยคำนึงถึงประโยชน์ ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเป็นสำคัญ พร้อมทั้งเป็นผู้ที่มีจรรยาบรรณทางวิชาการ การใหผูเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรูจากการเรียนการสอนที่ใชกิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active Learning) ใหสอดคลองกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs)

  • PLO1 แสดงออกถึงการมีจรรยาบรรณทางวิชาการ ความรับผิดชอบ และความซื่อสัตย์
  • PLO2 บูรณาการองค์ความรู้ด้านวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และระบบการบรรจุอาหาร เพื่อการรักษาคุณภาพ ยืดอายุการเก็บรักษา และเสริมสร้างหน้าที่พิเศษ
  • PLO3 เลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ ทดสอบสมบัติและแปรรูปทางด้านเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหารได้อย่างถูกต้อง
  • PLO4 ออกแบบกระบวนการวิจัยในการแก้ปัญหาและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหารได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
  • PLO5 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้นและเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง
  • PLO6 สามารถสื่อสารทางวิชาการด้วยทักษะภาษาอังกฤษ ได้อย่างถูกต้อง และตรงประเด็น

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก* 36 หน่วยกิจ
วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิจ
วิชาสัมมนา 2 หน่วยกิจ
* นักศึกษาที่ไม่สำเร็จการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหาร ต้องลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 855-501 และ 855-502 เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหาร และปฏิบัติการเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหาร แบบไม่นับหน่วยกิตรวมในหลักสูตร โดยอยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ** ลงทะเบียนเรียนแบบไม่นับหน่วยกิต

เกณฑ์การรับเข้า

เกณฑ์สำเร็จการศึกษา

แผน ก 1

  1. เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
  2. สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
  3. ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
  4. ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามข้อบังคับ ระเบียบและประกาศของบัณฑิตวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง

           

แผน ก 2

  1. ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
  2. สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว อย่างน้อย 1 รายการ
  3. ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
  4. ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามข้อบังคับ ระเบียบและประกาศของบัณฑิตวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง

แผน ข

  1. ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และสอบผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) ด้วยข้อเขียนและ/หรือปากเปล่าในสาขาวิชานั้น พร้อมทั้งเสนอรายงานสารนิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบสารนิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าฟังได้
  2. สำหรับรายงานสารนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของรายงานสารนิพนธ์ต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้
  3. ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
  4. ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามข้อบังคับ ระเบียบและประกาศของบัณฑิตวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง

รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)

รายชืืื่อบุคลากร

อาจารย์ประจำหลักสูตร

Asst.Prof.Dr. Thummanoon Prodpran
ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
Asst.Prof.Dr. Ponusa Jitphuthi
Asst.Prof.Dr. Supachai Pisuchpen

กรรมการบริหารหลักสูตร

Assoc.Prof.Dr. Waranyou Sridach                     

Asst.Prof.Dr. Pornsatit Sookchoo

Asst.Prof.Dr. Ladawan Songtipya

สื่อประชาสัมพันธ์

ข่าวเกี่ยวกับหลักสูตร