คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

กลับไปเว็บไซต์เดิม

สาขาวิชาอาหารสุขภาพและโภชนาการ หลักสูตรนานาชาติ (Functional Food and Nutrition(International Program)

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย     :วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (อาหารสุขภาพและโภชนาการ) หรือ วท.ม. (อาหารสุขภาพและโภชนาการ)

ภาษาอังกฤษ  :  –

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย

ชื่อเต็ม : Master of Science (Food Packaging Technology)
ชื่อย่อ  : M.Sc. (Food Packaging Technology)


ภาษาอังกฤษ

ชื่อเต็ม : Master of Science (Food Science and Technology)
ชื่อย่อ  : M.Sc. (Food Science and Technology)

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

  • แผน ก 1 36 หน่วยกิต
  • แผน ก 2 36 หน่วยกิต
  • แผน ข  36 หน่วยกิต

ปรัชญาการศึกษา

                หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาหารสุขภาพและโภชนาการ (หลักสูตรนานาชาติ) มุ่งเน้นให้มหาบัณฑิต มีแนวคิดในการทำวิจัยสามารถพิสูจน์ข้อมูล มีความรู้ความเข้าใจโดยการนาศาสตร์สาขาต่างๆ มาใช้เพื่อบูรณาการกระบวนการสร้างและประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านอาหารสุขภาพและโภชนาการ จัดการศึกษาตามแนวทางพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือการพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียนเพื่อการพัฒนางาน สังคม สิ่งแวดล้อม และการเรียนรู้ตลอดชีพ เป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาการและมีความรับผิดชอบต่อสังคม

ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (http://webagro.psu.ac.th)

การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยจากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะการใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน  (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง”  เป็นแนวทางในการดำเนินการ

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs)

  • PLO1 อธิบายผลของอาหารสุขภาพที่มีต่อสุขภาพเบื้องต้นสำหรับคนทั่วไป ผู้ป่วย หรือสัตว์เลี้ยง
  • PLO2 เลือกใช้เครื่องมือเพื่อทดสอบและประเมินผลของอาหารสุขภาพที่มีต่อสุขภาพได้อย่างเหมาะสมในระดับหลอดทดลอง (in vitro)
  • PLO3 ผลิตวัตถุดิบอาหารสุขภาพหรือผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพโดยใช้กระบวนการผลิตที่ไม่ซับซ้อนสาหรับคนทั่วไป ผู้ป่วย หรือสัตว์เลี้ยงได้
  • PLO4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าองค์ความรู้ทางด้านอาหารสุขภาพและโภชนาการได้
  • PLO5 สื่อสารและนำเสนอผลงานวิชาการได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น
  • PLO6 แสดงพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการมีคุณธรรมจริยธรรมและความรับผิดชอบ
  • PLO7 ทำงานร่วมกับผู้อื่นในฐานะผู้นาและผู้ตามที่ดี

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก 1 36 หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ-หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก– หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์36 หน่วยกิต
แผน ก 2 36 หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ12 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก6 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์18 หน่วยกิต
แผน ข36 หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ12 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก18 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์6 หน่วยกิต
* นักศึกษาที่ไม่สำเร็จการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหาร ต้องลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 855-501 และ 855-502 เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหาร และปฏิบัติการเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหาร แบบไม่นับหน่วยกิตรวมในหลักสูตร โดยอยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ** ลงทะเบียนเรียนแบบไม่นับหน่วยกิต

เกณฑ์การรับเข้า

  1. นักศึกษาต้องผ่านการสอบภาษาอังกฤษ PSU TEP หรือมีผลการสอบอื่นๆ ที่เทียบเท่าตามเกณฑ์ที่กำหนดของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ก่อนการสำเร็จการศึกษา
  2. ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กาหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ (ยกเว้น แผน ก 1)
  3. แผน ก 1 สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสาหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 1 รายการ
  4. แผน ก 2 สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสาหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นาเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ(Proceedings) ดังกล่าว อย่างน้อย 1 รายการ
  5. แผน ข สำหรับรายงานสารนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของรายงานสารนิพนธ์ต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้ อย่างน้อย 1 รายการ

เกณฑ์สำเร็จการศึกษา

แผน ก 1

  1. เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
  2. สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
  3. ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
  4. ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามข้อบังคับ ระเบียบและประกาศของบัณฑิตวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง

           

แผน ก 2

  1. ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
  2. สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว อย่างน้อย 1 รายการ
  3. ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
  4. ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามข้อบังคับ ระเบียบและประกาศของบัณฑิตวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง

แผน ข

  1. ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และสอบผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) ด้วยข้อเขียนและ/หรือปากเปล่าในสาขาวิชานั้น พร้อมทั้งเสนอรายงานสารนิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบสารนิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าฟังได้
  2. สำหรับรายงานสารนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของรายงานสารนิพนธ์ต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้
  3. ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
  4. ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามข้อบังคับ ระเบียบและประกาศของบัณฑิตวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง

รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)

รายชืืื่อบุคลากร

อาจารย์ประจำหลักสูตร

Chutha-2
ผศ. ดร. จุฑา ทาคาฮาชิ ยูปันคิ
ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
รศ. ดร. สันทัด วิเชียรโชติ
Vatcharee
ผศ. ดร. วัชรี สีห์ชำนาญธุรกิจ

กรรมการบริหารหลักสูตร

Nualpun
ผศ. ดร. นวลพรรณ ศิรินุพงศ์      

สื่อประชาสัมพันธ์

ข่าวเกี่ยวกับหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย     :  วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหาร
ภาษาอังกฤษ  :  Master of Science Program in Food Packaging Technology

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย

ชื่อเต็ม : Master of Science (Food Packaging Technology)
ชื่อย่อ  : M.Sc. (Food Packaging Technology)


ภาษาอังกฤษ

ชื่อเต็ม : Master of Science (Food Science and Technology)
ชื่อย่อ  : M.Sc. (Food Science and Technology)

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

  • 36 หน่วยกิต

ปรัชญาการศึกษา

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก* 36 หน่วยกิจ
วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิจ

แผนการศึกษา

เกณฑ์สำเร็จการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)

รายชื่อบุคลากร

อาจารย์ประจำหลักสูตร

Asst.Prof.Dr. Thummanoon Prodpran
ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
Asst.Prof.Dr. Ponusa Jitphuthi
Asst.Prof.Dr. Supachai Pisuchpen

กรรมการบริหารหลักสูตร

Assoc.Prof.Dr. Waranyou Sridach                     

Asst.Prof.Dr. Pornsatit Sookchoo

Asst.Prof.Dr. Ladawan Songtipya

ข่าวเกี่ยวกับหลักสูตร