วิดีทัศน์แนะนำบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร
ข้อมูลการรับนักเรียนในระบบ TCAS รอบ 3
สำหรับสาขาวิชาที่ได้รับการคัดเลือกจากโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560
ข้อมูลลักษณะการเรียนการสอนของสาขาวิชาที่จะดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของโครงสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร เป็น หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 มีปรัชญาของหลักสูตร มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประยุกต์ใช้วิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและการจัดการ เพื่อปรับปรุง/พัฒนาและแก้ปัญหากระบวนการดำเนินงานในอุตสาหกรรมอาหาร ที่สามารถสนองตอบต่อปัญหาและความต้องการของภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริงอย่างเป็นระบบผ่านการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงาน และการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ พร้อมทั้งเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อตัวเองและสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาการและวิชาชีพ
ลักษณะการจัดแผนการศึกษาในแต่ละภาคการศึกษา ลงทะเบียนเรียน ให้ลงทะเบียนเรียนได้ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต และไม่เกิน 22 หน่วยกิต ในแต่ละภาคการศึกษาปกติ (ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี) โดยมีการกำหนดรายวิชาลงไปในแต่ละภาคการศึกษาให้เป็นไปตามลำดับ สอดคล้อง ต่อเนื่องกัน โดยเริ่มจากการเรียนวิชาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และ วิชาพื้นฐาน ในชั้นปีที่ 1 เรียนวิชาเฉพาะด้านและวิชาพื้นฐานวิชาชีพ โดยเฉพาะพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมอาหาร ในชั้นปีที่ 2 เรียนวิชาชีพ ในชั้นปีที่ 3 และ 4 โดยแบ่งวิชาชีพ ออกเป็น 3 สาขาหลักคือ การจัดการการผลิต การจัดการคุณภาพ และการบริหารธุรกิจ นอกจากนี้ การจัดการเรียนการสอนในชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2 จะเน้นให้บูรณาการความรู้ภาคทฤษฎีกับภาคปฏิบัติ ผ่านกระบวนการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงาน ณ สถานประกอบการ และในชั้นปีที่ 4 จะเน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ โดยในภาคการศึกษาที่ 1 เน้นการบูรณาการในรายวิชาเรียน เช่น การบริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การออกแบบโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร การบริหารผลิตภาพในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนในภาคการศึกษาที่ 2 เน้นให้บูรณาการความรู้เพื่อการแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้ ผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษา ดังแสดงแนวทางการจัดการเรียนการสอนสำหรับแต่ละชั้นปี ดังนี้
ภาคการศึกษาที่ 1 | ภาคการศึกษาที่ 2 | ภาคการศึกษาฤดูร้อน | |
ชั้นปีที่ 1 | เรียนศึกษาทั่วไป + วิชาพื้นฐาน | Pre-course Experience | |
ชั้นปีที่ 2 | เรียนวิชาพื้นฐานวิชาชีพ Industrial Problem Based | *Practicum (Optional) | |
ชั้นปีที่ 3 | เรียนวิชาชีพ | *Practicum Post-Course Internship | |
ชั้นปีที่ 4 | เรียนวิชาชีพ | *Cooperative Education (Project Based) | *(Optional) |
* ช่วงระยะเวลาการเรียนที่อยู่ในสถานประกอบการ
หลักเกณฑ์การคัดเลือกนักเรียน
- การรับนักเรียนในระบบ TCAS รอบ 3 ตามประกาศมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รายละเอียด
- สอบสัมภาษณ์ผู้ผ่านการคัดเลือก TCAS รอบ 3 เพื่อคัดเลือกเป็นนักศึกษาผู้รับทุนบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ
จำนวนรับนักเรียนเข้าร่วมโครงการ
- 30 คน/ปีการศึกษา
ค่าใช้จ่ายของนักเรียนในหลักสูตร
- ค่าลงทะเบียนเหมาจ่าย ภาคการศึกษาละ 18,000 บาท
- งบดำเนินการ สำหรับสนับสนุนการพัฒนานักศึกษาในโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ ได้แก่ เบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายในการทำโครงงาน และค่าฝึกอบรม ตลอดระยะเวลาการศึกษาในหลักสูตร