ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Food Industrial Technology and Management
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร)
ชื่อย่อ : วท.บ. (เทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร)
ภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Science (Food Industrial Technology and Management)
ชื่อย่อ : B.Sc. (Food Industrial Technology and Management)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
141 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร มุ่งผลิตบัณฑิตที่บูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม การจัดการ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ สำหรับการออกแบบและปรับปรุงงานที่มีความซับซ้อนในระบบอาหารได้ รวมถึงสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องในระบบอาหาร มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เรียนรู้เพื่อปรับตัวในสภาวะการทำงานที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จัดการตนเองเพื่อทำงานสำเร็จตามเป้าหมาย มีความมุ่งมั่น ไม่ยอมแพ้ต่อปัญหาและอุปสรรคที่พบ มีจรรยาบรรณ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education : CWIE) และการจัดการศึกษาตามแนวทางพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) ซึ่งเป็นการพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs)
- PLO1 วางแผนและควบคุมงานในระบบอาหารได้ โดยคำนึงถึงผลิตภาพ คุณภาพ ความปลอดภัยอาหาร รวมถึงกฎหมาย และข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
- PLO2 ปรับปรุงงานที่มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงในระบบอาหารได้อย่างสร้างสรรค์
- PLO3 เลือกใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อพัฒนาระบบงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
- PLO4 ออกแบบนวัตกรรมธุรกิจอาหารได้
- PLO5 ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสื่อสาร และการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- PLO6 แสดงพฤติกรรมในการจัดการตนเอง เพื่อให้ทำงานจนสำเร็จตามเป้าหมาย แม้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป หรือมีปัญหาและอุปสรรค
- PLO7 ปฏิบัติงานอย่างมีจรรยาบรรณและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดรายวิชา | จำนวนหน่วยกิจ |
---|---|
หมวดรายวิชาศึกษาทั่วไป | 30 หน่วยกิจ |
หมวดวิชาเฉพาะ | 103 หน่วยกิจ |
หมวดวิชาเลือกเสรี | ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิจ |
เกณฑ์สำเร็จการศึกษา
- นักศึกษาต้องผ่านการวัดและประเมินผลรายวิชาต่างๆ ครบตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ทั้งการประเมินผลเรียนในมหาวิทยาลัย และ การประเมินผลการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการ และต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00 จากระบบ 8 ระดับคะแนน
- นักศึกษาต้องผ่านการวัดและประเมินผลด้านภาษาอังกฤษ โดยมีระดับคะแนนภาษาอังกฤษตามที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำหนด
- นักศึกษาต้องผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร โดยมีจำนวนชั่วโมงรวมไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง ตามที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำหนด
รายชื่อบุคลากร
อาจารย์ประจำหลักสูตร
Dr. Kanya Auckara-Aree
กรรมการบริหารหลักสูตร
สื่อประชาสัมพันธ์
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Food Industrial Technology and Management
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร)
ชื่อย่อ : วท.บ. (เทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร)
ภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Science (Food Industrial Technology and Management)
ชื่อย่อ : B.Sc. (Food Industrial Technology and Management)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
141 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร มุ่งผลิตบัณฑิตที่บูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม การจัดการ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ สำหรับการออกแบบและปรับปรุงงานที่มีความซับซ้อนในระบบอาหารได้ รวมถึงสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องในระบบอาหาร มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เรียนรู้เพื่อปรับตัวในสภาวะการทำงานที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จัดการตนเองเพื่อทำงานสำเร็จตามเป้าหมาย มีความมุ่งมั่น ไม่ยอมแพ้ต่อปัญหาและอุปสรรคที่พบ มีจรรยาบรรณ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education : CWIE) และการจัดการศึกษาตามแนวทางพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) ซึ่งเป็นการพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
–
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดรายวิชา | จำนวนหน่วยกิจ |
---|---|
หมวดรายวิชาศึกษาทั่วไป | 30 หน่วยกิจ |
หมวดวิชาเฉพาะ | 103 หน่วยกิจ |
หมวดวิชาเลือกเสรี | ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิจ |
แผนการศึกษา
- แผนการศึกษาตลอดหลักสูตร
เกณฑ์สำเร็จการศึกษา
- นักศึกษาต้องผ่านการวัดและประเมินผลรายวิชาต่างๆ ครบตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ทั้งการประเมินผลเรียนในมหาวิทยาลัย และ การประเมินผลการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการ และต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00 จากระบบ 8 ระดับคะแนน
- นักศึกษาต้องผ่านการวัดและประเมินผลด้านภาษาอังกฤษ โดยมีระดับคะแนนภาษาอังกฤษตามที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำหนด
- นักศึกษาต้องผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร โดยมีจำนวนชั่วโมงรวมไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง ตามที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำหนด
รายชื่อบุคลากร
อาจารย์ประจำหลักสูตร
Dr. Kanya Auckara-Aree