Faculty of Agro-Industry PSU

EN | TH

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร (Food Science and Technology)

FACULTY OF AGRO-INDUSTRY
2023-M.Sc._Food_for_student

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Food Science and Technology

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย

ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร)
ชื่อย่อ  : วท.ม. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร)

ภาษาอังกฤษ

ชื่อเต็ม : Master of Science (Food Science and Technology)
ชื่อย่อ  : M.Sc. (Food Science and Technology)

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

  • แผน ก 1 และ ก 1 (Hi-Fi)  36 หน่วยกิต
  • แผน ก 2  36 หน่วยกิต

ปรัชญาการศึกษา

       หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร มุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้และสามารถในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารระดับสูง สามารถสร้างงานวิจัยเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมอาหาร และประยุกต์ใช้วิชาชีพและสื่อสารได้อย่างเหมาะสม ทั้งในท้องถิ่น ระดับชาติและนานาชาติอย่างมีคุณธรรมและจรรยาบรรณ โดยผ่านกระบวนการการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์(Outcome-Based Education) โดยใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active Learning) การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-Based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) การค้นคว้าด้วยตนเอง ลงมือปฏิบัติและการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ทำงาน (Work-Integrated Learning)

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs)

  • PLO1 ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารเพื่อการ พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการแปรรูป และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร โดยเฉพาะอาหาร ทะเล อาหารฮาลาล และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรภาคใต้
  • PLO2 แสดงออกถึงการมีความซื่อสัตย์ ความ รับผิดชอบ และจรรยาบรรณทางวิชาการ
  • PLO3 ประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยในการ พัฒนาโครงการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีอาหารได้อย่างถูกต้อง
  • PLO4 เลือกใช้เครื่องมือหรือซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์
  • PLO5 สามารถสืบค้นและคัดกรองข้อมูลโดย ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
  • PLO6 สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่าง ถูกต้องและตรงประเด็นในวงวิชาการ

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก* 36 หน่วยกิจ
วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิจ
วิชาสัมมนา 2 หน่วยกิจ
แผน ข*36 หน่วยกิจ
หมวดวิชาบังคับ 8 หน่วยกิจ
หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิจ
วิทยานิพนธ์ 20 หน่วยกิจ
วิชาสัมมนา 2 หน่วยกิจ
แผน ก 1 (Hi-Fi)* 36 หน่วยกิจ
วิทยานิพนธ์36 หน่วยกิจ
วิชาสัมมนา 2 หน่วยกิจ

เกณฑ์การรับเข้า

เกณฑ์สำเร็จการศึกษา

แผน ก 1 และแผน ก 1 (Hi-Fi)

  1. เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
  2. สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือการจดอนุสิทธิบัตร/สิทธิบัตร/การนำผลงานไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์เป็นไปตามเงื่อนไขของบัณฑิตวิทยาลัยสำหรับแผน ก 1 (Hi-Fi) อย่างน้อย 1 รายการ
  3. ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
  4. ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามข้อบังคับ ระเบียบและประกาศของบัณฑิตวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง

           

แผน ก 2

  1. ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
  2. สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว อย่างน้อย 1 รายการ
  3. ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
  4. ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามข้อบังคับ ระเบียบและประกาศของบัณฑิตวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง

รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)

รายชืืื่อบุคลากร

อาจารย์ประจำหลักสูตร

thanasak.s
Asst.Prof.Dr. Thanasak Sae-leaw
ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
soottawat
Prof.Dr. Soottawat Benjakul
saowakon.w
Asst.Prof.Dr. Saowakon Wattanachant

กรรมการบริหารหลักสูตร

Asst. Prof. Dr. Avtar Singh                      

Dr. Jirakrit Saetang                      

Dr. Jirayu Buatong

สื่อประชาสัมพันธ์

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย     :  วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหาร
ภาษาอังกฤษ  :  Master of Science Program in Food Packaging Technology

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย

ชื่อเต็ม : Master of Science (Food Packaging Technology)
ชื่อย่อ  : M.Sc. (Food Packaging Technology)


ภาษาอังกฤษ

ชื่อเต็ม : Master of Science (Food Science and Technology)
ชื่อย่อ  : M.Sc. (Food Science and Technology)

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

  • 36 หน่วยกิต

ปรัชญาการศึกษา

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก* 36 หน่วยกิจ
วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิจ

แผนการศึกษา

เกณฑ์สำเร็จการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)

รายชื่อบุคลากร

อาจารย์ประจำหลักสูตร

Asst.Prof.Dr. Thummanoon Prodpran
ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
Asst.Prof.Dr. Ponusa Jitphuthi
Asst.Prof.Dr. Supachai Pisuchpen

กรรมการบริหารหลักสูตร

Assoc.Prof.Dr. Waranyou Sridach                     

Asst.Prof.Dr. Pornsatit Sookchoo

Asst.Prof.Dr. Ladawan Songtipya