ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหาร
ภาษาอังกฤษ : –
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : Master of Science (Food Packaging Technology)
ชื่อย่อ : M.Sc. (Food Packaging Technology)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Master of Science (Food Science and Technology)
ชื่อย่อ : M.Sc. (Food Science and Technology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- แผน ก แบบ ก 1 36 หน่วยกิต
- แผน ก แบบ ก 2 36 หน่วยกิต
- แผน ข 36 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหาร มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประยุกต์ใช้วิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม เทคโนโลยี และการจัดการ เพื่อปรับปรุง/พัฒนาและแก้ปัญหากระบวนการดำเนินงานในอุตสาหกรรมอาหาร ทำวิจัยที่สามารถสนองตอบต่อปัญหาและความต้องการของสถานประกอบการอุตสาหกรรมอาหารอย่างแท้จริงและเป็นระบบ โดยผ่านการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการร่วมกับการทำงาน พร้อมทั้งเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาการ มีความรับผิดชอบต่อตัวเอง สังคม และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs)
- PLO 1: มีความรู้และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้และเทคนิคในศาสตร์การจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหารได้อย่างเหมาะสม
- PLO 2: สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ เลือกใช้และประยุกต์ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในศาสตร์การจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหารเพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- PLO 3: สามารถคิดวิเคราะห์เป็นระบบและสร้างสรรค์ สื่อสารและเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
- PLO 4: สามารถทำงานเป็นทีมในฐานะผู้นำหรือสมาชิกที่ดี
- PLO 5: สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ปรับตัวได้ตามสภาวะแวดล้อมปัจจุบันและพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง
- PLO 6: มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบ และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก
แบบ ก 1 | 36 หน่วยกิจ |
---|---|
วิทยานิพนธ์ | 36 หน่วยกิจ |
แบบ ก 2 | 36 หน่วยกิจ |
---|---|
หมวดวิชาบังคับ | 12 หน่วยกิจ |
หมวดวิชาเลือก | 6 หน่วยกิจ |
วิทยานิพนธ์ | 18 หน่วยกิจ |
เกณฑ์การรับเข้า
แผน ก แบบ ก1
– เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม หรือ สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรในการพิจารณาตอนสอบสัมภาษณ์เข้าศึกษา รวมถึงพิจารณาให้ลงเรียนเพิ่มเติมในรายวิชาที่จำเป็นสำหรับผู้สมัครแต่ละราย
– มีเกณฑ์คุณสมบัติเพิ่มเติม ได้แก่ ควรมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 6 เดือน หรือ
ผ่านรายวิชาสหกิจศึกษา และมีประสบการณ์วิจัยเบื้องต้น ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรในการพิจารณาตอนสอบสัมภาษณ์เข้าศึกษา รวมถึงพิจารณาให้ลงเรียนเพิ่มเติมในรายวิชาที่จำเป็นสำหรับผู้สมัครแต่ละราย
แผน ก แบบ ก2
– เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม บริหารธุรกิจเกษตร เกษตร หรือ อาหาร หรือ สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรในการพิจารณาตอนสอบสัมภาษณ์เข้าศึกษา รวมถึงพิจารณาให้ลงเรียนเพิ่มเติมในรายวิชาที่จำเป็นสำหรับผู้สมัครแต่ละราย
– มีเกณฑ์คุณสมบัติเพิ่มเติม ได้แก่ ควรมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 6 เดือน หรือ
ผ่านรายวิชาสหกิจศึกษา ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรในการพิจารณาตอนสอบสัมภาษณ์เข้าศึกษา รวมถึงพิจารณาให้ลงเรียนเพิ่มเติมในรายวิชาที่จำเป็นสำหรับผู้สมัครแต่ละราย
แผน ข
– เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม หรือ สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรในการพิจารณาตอนสอบสัมภาษณ์เข้าศึกษา รวมถึงพิจารณาให้ลงเรียนเพิ่มเติมในรายวิชาที่จำเป็นสำหรับผู้สมัครแต่ละราย
-มีเกณฑ์คุณสมบัติเพิ่มเติม ได้แก่ ควรมีประสบการณ์ทำงานในอุตสาหกรรมไม่น้อยกว่า 1 ปี ในตําแหน่งผู้ช่วยวิจัย หรือ ประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการค้นคว้าวิจัยในอุตสาหกรรม
เกณฑ์สำเร็จการศึกษา
แผน ก แบบ ก1
1) เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าร้บฟังได้
2) สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
แผน ก แบบ ก2
1) นักศึกษาต้องผ่านการสอบ PSU TEP หรือมีผลการสอบอื่นๆ ที่เทียบเท่า ตามเกณฑ์ที่กำหนดของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ก่อนการสำเร็จการศึกษา
2) ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งสอบผ่านโครงร่างวิทยานิพนธ์ นําเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าร้บฟังได้
3) สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือดําเนินการให้ผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ หรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ ระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพซึ่ง คณะกรรมการประจําคณะให้ความเห็นชอบหรือ เสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุ ม (Proceedings)
แผน ข
1) นักศึกษาต้องผ่านการสอบ PSU TEP หรือมีผลการสอบอื่นๆ ที่เทียบเท่า ตามเกณฑ์ที่กำหนดของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ก่อนการสำเร็จการศึกษา
2) ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งสอบผ่านสารนิพนธ์ และสอบผ่านการสอบประมวลความรอบรู้ (Comprehensive Examination) ด้วยข้อเขียนและ/หรือปากเปล่าในสาขาวิชานั้น
รายชืืื่อบุคลากร
อาจารย์ประจำหลักสูตร
กรรมการบริหารหลักสูตร
Assoc.Prof.Dr. Waranyou Sridach
Asst.Prof.Dr. Ladawan Songtipya
สื่อประชาสัมพันธ์
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหาร
ภาษาอังกฤษ : –
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : Master of Science (Food Packaging Technology)
ชื่อย่อ : M.Sc. (Food Packaging Technology)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Master of Science (Food Science and Technology)
ชื่อย่อ : M.Sc. (Food Science and Technology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- แผน ก แบบ ก 1 36 หน่วยกิต
- แผน ก แบบ ก 2 36 หน่วยกิต
- แผน ข 36 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหาร มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประยุกต์ใช้วิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม เทคโนโลยี และการจัดการ เพื่อปรับปรุง/พัฒนาและแก้ปัญหากระบวนการดำเนินงานในอุตสาหกรรมอาหาร ทำวิจัยที่สามารถสนองตอบต่อปัญหาและความต้องการของสถานประกอบการอุตสาหกรรมอาหารอย่างแท้จริงและเป็นระบบ โดยผ่านการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการร่วมกับการทำงาน พร้อมทั้งเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาการ มีความรับผิดชอบต่อตัวเอง สังคม และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
–
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก* | 36 หน่วยกิจ |
---|---|
วิทยานิพนธ์ | 36 หน่วยกิจ |
แผนการศึกษา
- แผนการศึกษาตลอดหลักสูตร
เกณฑ์สำเร็จการศึกษา
–
รายชื่อบุคลากร
อาจารย์ประจำหลักสูตร
กรรมการบริหารหลักสูตร
Assoc.Prof.Dr. Waranyou Sridach
Asst.Prof.Dr. Ladawan Songtipya