ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Biotechnology (International Program)
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม :ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ)
ชื่อย่อ : ปร.ด. (เทคโนโลยีชีวภาพ)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Biotechnology)
ชื่อย่อ : Ph.D. (Biotechnology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
แผน 1.1 และ 2.1 ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
แผน 1.2 และ 2.2 ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (หลักสูตรนานาชาติ) เน้นให้ผู้เรียนมีการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพอาหาร พลังงาน และสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเกษตรในภาคใต้อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งเป็นผู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรม โดยจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาพิพัฒนาการนิยม (Progressivism)
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs)
- PLO1 สามารถแสดงออกถึงการมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ
- PLO2 สามารถบูรณาการองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูงเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมทางเทคโนโลยีชีวภาพอาหาร พลังงาน และสิ่งแวดล้อม
- PLO3 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศค้นคว้าและเรียนรู้เทคโนโลยี นวัตกรรม และสถานการณ์โลกด้วยตนเอง
- PLO4 สามารถริเริ่มพัฒนาโจทย์วิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมทางเทคโนโลยีชีวภาพ
- PLO5 สามารถเสนอแนวความคิดสำหรับการประกอบการธุรกิจทางเทคโนโลยีชีวภาพ
- PLO6 สามารถสื่อสารทั้งการพูดและการเขียนเชิงวิชาการได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1 | 48 หน่วยกิจ |
---|---|
วิทยานิพนธ์ | 48 หน่วยกิจ |
แบบ 1.2 | 72 หน่วยกิจ |
---|---|
วิทยานิพนธ์ | 72 หน่วยกิจ |
แบบ 2.1* | 48 หน่วยกิจ |
---|---|
หมวดวิชาบังคับ | 6 หน่วยกิจ |
หมวดวิชาเลือก | 6 หน่วยกิจ |
วิทยานิพนธ์ | 36 หน่วยกิจ |
แบบ 2.2* | 72 หน่วยกิจ |
---|---|
หมวดวิชาบังคับ | 17 หน่วยกิจ |
หมวดวิชาเลือก | 7 หน่วยกิจ |
วิทยานิพนธ์ | 48 หน่วยกิจ |
* นักศึกษาที่ไม่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพหรือสาขาวิชาอื่นที่ใกล้เคียงกัน ต้องลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 853-523 พื้นฐานเทคนิควิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ (Fundamental Research Techniques in Biotechnology) แบบไม่นับหน่วยกิตรวมในหลักสูตร โดยอยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
เกณฑ์การรับเข้า
นักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาได้ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 28 กันยายน 2563 หน้า 14 หมวดที่ 6 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
แบบ 1 ผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิขอทำวิทยานิพนธ์ เสนอวิทยานิพนธ์ และการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบันและต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 2 เรื่อง
แบบ 2 ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิของทำวิทยานิพนธ์ เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบันและต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
เกณฑ์สำเร็จการศึกษา
นักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาได้ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 28 กันยายน 2563 หน้า 14 หมวดที่ 6 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
แบบ 1 ผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิขอทำวิทยานิพนธ์ เสนอวิทยานิพนธ์ และการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบันและต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 2 เรื่อง
แบบ 2 ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิของทำวิทยานิพนธ์ เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบันและต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่ง ของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
รายชืืื่อบุคลากร
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ศาสตราจารย์ ดร.เบญจมาส เชียรศิลป์
รองศาสตราจรย์ ดร.ศุภศิลป์ มณีรัตน์
ผู้ช่วยศาสตราจรย์ ดร.อภิชาติ อู๋ไพจิตร
กรรมการบริหารหลักสูตร
ศาสตราจารย์ ดร.เบญจมาส เชียรศิลป์
รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยะรัตน์ บุญแสวง
รองศาสตราจรย์ ดร.ศุภศิลป์ มณีรัตน์
ผู้ช่วยศาสตราจรย์ ดร.อภิชาติ อู๋ไพจิตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิริยะ ดวงสุวรรณ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา ธรรมรัตน์
ผู้ช่วยศาสตราจรย์ ดร.วาสนา สุโยธา
ดร.เอ็ม นุ้ยเลิศ
สื่อประชาสัมพันธ์
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหาร
ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Food Packaging Technology
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : Master of Science (Food Packaging Technology)
ชื่อย่อ : M.Sc. (Food Packaging Technology)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Master of Science (Food Science and Technology)
ชื่อย่อ : M.Sc. (Food Science and Technology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- 36 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
–
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
–
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก* | 36 หน่วยกิจ |
---|---|
วิทยานิพนธ์ | 36 หน่วยกิจ |
แผนการศึกษา
- แผนการศึกษาตลอดหลักสูตร
เกณฑ์สำเร็จการศึกษา
–
รายชื่อบุคลากร
อาจารย์ประจำหลักสูตร
กรรมการบริหารหลักสูตร
Assoc.Prof.Dr. Waranyou Sridach
Asst.Prof.Dr. Ladawan Songtipya