คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร

ชื่อหลักสูตร

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย
ชื่อเต็มปริญญา : วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร)
ชื่อย่อปริญญา (ภาษาไทย) : วท.บ. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร)

ภาษาอังกฤษ

ชื่อย่อปริญญา (English) : B.Sc. (Food Science and Technology)

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

139 หน่วยกิต

ปรัชญาการศึกษา

       ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร โดยเน้นการนำ วิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแปรรูปอาหาร วิศวกรรมอาหาร จุลินทรีย์ทางอาหาร เคมีอาหารการประกันคุณภาพและการพัฒนาผลิตภัณฑ์มาประยุกต์ใช้เพื่อผลิต อาหารให้มีคุณภาพ และความปลอดภัย เป็นไปตามมาตรฐานทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ทั้งนี้จะมีการสอดแทรก องค์ความรู้และการประยุกต์ใช้วัตถุดิบ ในท้องถิ่นของภาคใต้ร่วมกับ กระบวนการจัดการวัตถุดิบ กระบวนการ และผลิตภัณฑ์ทั้งห่วงโซ่อุปทาน ตลอดจน สามารถนำ ความรู้ไปปรับใช้ในการสร้างคุณค่าและ มูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อใช้ในการพัฒนา เศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่จะพัฒนาระบบเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน กล่าวคือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการพัฒนาเป็น ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงเชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด โดยทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้จะอยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องพัฒนา ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคม และการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิด ความมั่นคงและยั่งยืนไป พร้อมกัน โดยเปลี่ยน ข้อได้เปรียบ จากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ให้เป็น ความสามารถในการแข่งขัน เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจ BCG ที่เติบโต แข่งขันได้ในระดับโลก เกิดการ กระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ ชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมและการ พัฒนาที่ยั่งยืน โดยการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) มุ่งเน้น ให้บัณฑิตมีทักษะในการคิดวิเคราะห์ ความคิดเป็นระบบและทักษะในการแก้ปัญหา บูรณาการความรู้ อย่างเป็นระบบ (Connectivism) สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง (Contructivism) มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและปรับตัวได้ดี ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

  • PLO1 ประยุกต์องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารสำหรับการทำงานใน
    อุตสาหกรรมอาหาร โดยคำนึงถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ความปลอดภัยของผู้บริโภค และ
    สิ่งแวดล้อม
  • PLO2 พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหารอย่างยั่งยืน
  • PLO3 พัฒนาแนวคิดในการทำธุรกิจเบื้องต้นด้านธุรกิจอาหารและอุตสาหกรรมอาหารได้
  • PLO4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง
  • PLO5 สื่อสารและนำเสนอข้อมูลได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น
  • PLO6 ทำงานร่วมกับผู้อื่นในองค์กรและสังคมได้ในฐานะผู้นำและผู้ร่วมงาน
  • PLO7 แสดงออกถึงความมีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย จิตสำนึก และความรับผิดชอบต่อสังคม

โครงสร้างหลักสูตร

หมวดรายวิชาจำนวนหน่วยกิต
หมวดรายวิชาศึกษาทั่วไป30 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ103 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
หมวดวิชาฝึกงาน ไม่น้อยกว่า 300 ชั่วโมง

เกณฑ์สำเร็จการศึกษา

  1. นักศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาและผ่านการวัดและประเมินผลรายวิชาต่างๆ ครบถ้วนตามหลักสูตร ข้อกำหนดและเงื่อนไขของสาขาวิชา และเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  2. นักศึกษาต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามมาตรฐานขั้นต่ำที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำหนด

รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)

รายชื่อบุคลากร

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

piyarat-siri

Asst. Prof. Dr. Piyarat Sirivongpaisal

ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
dusida

Asst. Prof. Dr. Dusida Tirawat

Wirote

Assoc. Prof. Dr. Wirote Youravong

กรรมการบริหารหลักสูตร

Pochanart

Asst. Prof. Dr. Pochanart Kanjan

tippawan
Dr. Tippawan Sirinupong
kwanhathai.c
Dr. Kwanhathai Chaethong

สื่อประชาสัมพันธ์

กิจกรรมเสริมหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Food Science and Technology

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย

ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร)
ชื่อย่อ  : วท.ม. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร)

ภาษาอังกฤษ

ชื่อเต็ม : Master of Science (Food Science and Technology)
ชื่อย่อ  : M.Sc. (Food Science and Technology)

 

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

  • แผน ก 1 และ ก 1 (Hi-Fi)  36 หน่วยกิต
  • แผน ก 2  36 หน่วยกิต

ปรัชญาการศึกษา

       หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร มุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้และสามารถในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารระดับสูง สามารถสร้างงานวิจัยเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมอาหาร และประยุกต์ใช้วิชาชีพและสื่อสารได้อย่างเหมาะสม ทั้งในท้องถิ่น ระดับชาติและนานาชาติอย่างมีคุณธรรมและจรรยาบรรณ โดยผ่านกระบวนการการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์(Outcome-Based Education) โดยใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active Learning) การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-Based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) การค้นคว้าด้วยตนเอง ลงมือปฏิบัติและการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ทำงาน (Work-Integrated Learning)

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก* 36 หน่วยกิจ
วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิจ
วิชาสัมมนา 2 หน่วยกิจ

แผนการศึกษา

เกณฑ์การรับเข้า

เกณฑ์สำเร็จการศึกษา

แผน ก 1 และแผน ก 1 (Hi-Fi)

  1. เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
  2. สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือการจดอนุสิทธิบัตร/สิทธิบัตร/การนำผลงานไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์เป็นไปตามเงื่อนไขของบัณฑิตวิทยาลัยสำหรับแผน ก 1 (Hi-Fi) อย่างน้อย 1 รายการ
  3. ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
  4. ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามข้อบังคับ ระเบียบและประกาศของบัณฑิตวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง

           

แผน ก 2

  1. ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
  2. สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว อย่างน้อย 1 รายการ
  3. ต้องสอบเทียบหรือสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศ มีคุณสมบัติอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
  4. ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามข้อบังคับ ระเบียบและประกาศของบัณฑิตวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง

รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)

รายชื่อบุคลากร

อาจารย์ประจำหลักสูตร

thanasak.s
Asst.Prof.Dr. Thanasak Sae-leaw
ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
soottawat
Prof.Dr. Soottawat Benjakul
saowakon.w
Asst.Prof.Dr. Saowakon Wattanachant

กรรมการบริหารหลักสูตร

Asst. Prof. Dr. Avtar Singh                      

Dr. Jirakrit Saetang                      

Dr. Jirayu Buatong

ข่าวเกี่ยวกับหลักสูตร