ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Biotechnology (International Program)
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม :ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ)
ชื่อย่อ : ปร.ด. (เทคโนโลยีชีวภาพ)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Biotechnology)
ชื่อย่อ : Ph.D. (Biotechnology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
แผน 1.1 และ 2.1 ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
แผน 1.2 และ 2.2 ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (หลักสูตรนานาชาติ) เน้นให้ผู้เรียนมีการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพอาหาร พลังงาน และสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเกษตรในภาคใต้อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งเป็นผู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรม โดยจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาพิพัฒนาการนิยม (Progressivism)
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs)
- PLO1 สามารถแสดงออกถึงการมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ
- PLO2 สามารถบูรณาการองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูงเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมทางเทคโนโลยีชีวภาพอาหาร พลังงาน และสิ่งแวดล้อม
- PLO3 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศค้นคว้าและเรียนรู้เทคโนโลยี นวัตกรรม และสถานการณ์โลกด้วยตนเอง
- PLO4 สามารถริเริ่มพัฒนาโจทย์วิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมทางเทคโนโลยีชีวภาพ
- PLO5 สามารถเสนอแนวความคิดสำหรับการประกอบการธุรกิจทางเทคโนโลยีชีวภาพ
- PLO6 สามารถสื่อสารทั้งการพูดและการเขียนเชิงวิชาการได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1 | 48 หน่วยกิต |
---|---|
วิทยานิพนธ์ | 48 หน่วยกิต |
แบบ 1.2 | 72 หน่วยกิต |
---|---|
วิทยานิพนธ์ | 72 หน่วยกิต |
แบบ 2.1* | 48 หน่วยกิต |
---|---|
หมวดวิชาบังคับ | 6 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือก | 6 หน่วยกิต |
วิทยานิพนธ์ | 36 หน่วยกิต |
แบบ 2.2* | 72 หน่วยกิต |
---|---|
หมวดวิชาบังคับ | 17 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือก | 7 หน่วยกิต |
วิทยานิพนธ์ | 48 หน่วยกิต |
* นักศึกษาที่ไม่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพหรือสาขาวิชาอื่นที่ใกล้เคียงกัน ต้องลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 853-523 พื้นฐานเทคนิควิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ (Fundamental Research Techniques in Biotechnology) แบบไม่นับหน่วยกิตรวมในหลักสูตร โดยอยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
เกณฑ์การรับเข้า
นักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาได้ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 28 กันยายน 2563 หน้า 14 หมวดที่ 6 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
แบบ 1 ผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิขอทำวิทยานิพนธ์ เสนอวิทยานิพนธ์ และการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบันและต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 2 เรื่อง
แบบ 2 ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิของทำวิทยานิพนธ์ เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบันและต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
เกณฑ์สำเร็จการศึกษา
นักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาได้ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 28 กันยายน 2563 หน้า 14 หมวดที่ 6 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
แบบ 1 ผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิขอทำวิทยานิพนธ์ เสนอวิทยานิพนธ์ และการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบันและต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 2 เรื่อง
แบบ 2 ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิของทำวิทยานิพนธ์ เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบันและต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่ง ของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
รายชืืื่อบุคลากร
อาจารย์ประจำหลักสูตร
กรรมการบริหารหลักสูตร
สื่อประชาสัมพันธ์
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหาร
ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Food Packaging Technology
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : Master of Science (Food Packaging Technology)
ชื่อย่อ : M.Sc. (Food Packaging Technology)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Master of Science (Food Science and Technology)
ชื่อย่อ : M.Sc. (Food Science and Technology)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- 36 หน่วยกิต
ปรัชญาการศึกษา
–
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ระดับหลักสูตร
–
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก* | 36 หน่วยกิจ |
---|---|
วิทยานิพนธ์ | 36 หน่วยกิจ |
แผนการศึกษา
- แผนการศึกษาตลอดหลักสูตร
เกณฑ์สำเร็จการศึกษา
–
รายชื่อบุคลากร
อาจารย์ประจำหลักสูตร
กรรมการบริหารหลักสูตร
Assoc.Prof.Dr. Waranyou Sridach
Asst.Prof.Dr. Ladawan Songtipya