คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2538 จากการยกระดับภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลเกษตรและทรัพยากรชีวภาพของภาคใต้หรืออุตสาหกรรมเกษตร ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร เทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์และวัสดุชีวภาพ และการจัดการในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมเกษตร โดยปัจจุบันคณะฯ ใช้หลักสูตรที่เน้นการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrated Learning, WIL) และการวิจัยเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วิจัยสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรของภาคใต้และประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์กับการตั้งคณะฯ และเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักของประเทศ (S-curve) ภายใต้โมเดลการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย BCG (Bio-Circular-Green Economy) โดยมุ่งเน้นการใช้ผลผลิตเกษตรและทรัพยากรชีวภาพของภาคใต้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มูลสูงด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่คำนึงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs)
วิสัยทัศน์ (Vision)
"อุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน"
(Agro-Industry for Sustainable Development)
พันธกิจ (Mission)
1. พัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอาหาร บรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ชีวภาพและการจัดการ ให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความเป็นผู้ประกอบการ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
2. สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมอาหาร บรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ชีวภาพและการจัดการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
3. ให้บริการวิชาการเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและอุตสาหกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน
วัฒนธรรมองค์กร (Culture)
"ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง"
(Our Soul is for the Benefit of Mankind)
ค่านิยมหลัก (Core Values)
สามัคคี มีความสุข เชิงรุก มืออาชีพ
สมรรถนะหลัก (Core Competency)
1. บุคลากรมีประสบการณ์ด้านการพัฒนากำลังคนโดยการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
2. ความสามารถในการวิจัยด้านการแปรรูปอาหาร การใช้วัสดุเศษเหลือจากผลผลิตการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปในพื้นที่ภาคใต้
3. ระบบบริหารจัดการงานบริการวิชาการที่มีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัว
ในปัจจุบัน คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืน (SDGs) มากำหนดเป็นวิสัยทัศน์และแผนกลยุทธ์ในแต่ละด้านให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล
กลยุทธ์
1. การพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะสากลสู่การเป็นพลเมืองโลกและการเป็นผู้ประกอบการ
2. การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
3. การเป็นคณะผู้ประกอบการเพื่อการศึกษาอย่างยั่งยืน
4. การพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ด้วยองค์ความรู้ การวิจัยและนวัตกรรม
5. การพัฒนาระบบบริหารจัดการอย่างต่อเนื่องภายใต้หลักธรรมาภิบาล
*สมรรถนะสากลในที่นี้คือ ทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร (Global communication) และด้านดิจิทัล (Digital literacy) และการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long learning skill)
องค์ประกอบของตราสัญลักษณ์

สีประจำคณะ
สีชมพู กลีบบัวหลวง (รหัสสี M90Y10C20)
ดอกไม้ประจำคณะอุตสาหกรรมเกษตร
ดอกบัวหลวง
หนังสือ
สื่อการพัฒนางานทางด้านวิชาการ และงานวิจัย
ฟันเฟือง
สื่อถึงการขับเคลื่อนทางด้านอุตสาหกรรมที่มีความทันสมัยอย่างต่อเนื่อง
ความหมายของตราสัญลักษณ์
เป็นการสื่อถึงบทบาทของคณะอุตสาหกรรมเกษตรในเชิงการพัฒนาทั้งในด้านวิชาการ งานวิจัย การบริการวิชาการ คุณธรรม จริยธรรม และความสัมพันธ์อันเป็นหนึ่งเดียว
สัญลักษณ์คณะตามรูปแบบมหาวิทยาลัย PSU ONE
แบนเนอร์ฉากพื้นหลังสำหรับการประชุมออนไลน์ (1920 x 1080 px)
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |