หลักสูตรระดับปริญญาตรี
การจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี
มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้วิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร การศึกษาและพัฒนาคุณสมบัติของวัสดุชีวภาพ วัสดุสังเคราะห์และวัสดุผสม รวมทั้งการบริหารจัดการโรงงานอุตสาหกรรม โดยสามารถบูรณาการและเชื่อมโยงความรู้ในสาขาต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาของภาครัฐและอุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ซึ่งแต่ละหลักสูตรมีจุดเด่นดังนี้
👉 1. วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
👉 1. วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
ชื่อปริญญา : วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): วท.บ. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร)
อักษรย่อปริญญา (English): B.Sc. (Food Science and Technology)
เน้นจัดการเรียนการสอนพื้นฐานวิทยาศาสตร์อาหาร ทั้งด้านเคมี จุลชีววิทยาและการวิเคราะห์คุณภาพ และทักษะทางเทคโนโลยีอาหาร ซึ่งรวมถึงกระบวนการผลิต การควบคุมและประกันคุณภาพ การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อาหาร การถนอมอาหารการวิจัยและพัฒนาอาหาร เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทำงานในฝ่ายผลิต/ ฝ่ายประกันคุณภาพ/ ฝ่ายออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและผลิตผลทางการเกษตร มีการจัดการเรียนการสอนโดยการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในสถานประกอบการ
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
กรรมการบริหารหลักสูตร
- รายละเอียดหลักสูตร (พ.ศ.2565)
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 | ปรัชญาการศึกษา | PLOs+Mapping KAS
- รายละเอียดหลักสูตร (พ.ศ.2560)
- กิจกรรมเสริมหลักสูตร
- สื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตร
Contact :
👉 2. วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์และวัสดุ
ชื่อปริญญา : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์และวัสดุ)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): วท.บ. (เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์และวัสดุ)
อักษรย่อปริญญา (English):
เน้นจัดการเรียนการสอนด้านวัสดุและบรรจุภัณฑ์ และทักษะด้านการผลิต พัฒนา ตรวจสอบคุณภาพและออกแบบบรรจุภัณฑ์ทั้งด้านโครงสร้างและกราฟิก เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทำงานเป็นนักพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ ในโรงงานอุตสาหกรรมทั้งที่เกี่ยวกับอาหารและไม่เกี่ยวกับอาหาร หรือเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตและตรวจสอบคุณภาพวัสดุและบรรจุภัณฑ์
มีการจัดการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษาเรียนรู้จากภาคปฏิบัติเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrated Learning) และการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ตามโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
- รายละเอียดหลักสูตร (พ.ศ.2567)
- รายละเอียดหลักสูตร (พ.ศ.2562)
- รายละเอียดหลักสูตร (พ.ศ.2557)
- รายละเอียดหลักสูตร (พ.ศ.2553)
- ปรัชญาและ ELOs
- แนะนำหลักสูตร , แผ่นพับประชาสัมพันธ์
Contact :
👉 3. วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร
ชื่อปริญญา : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): วท.บ. (เทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร)
อักษรย่อปริญญา (English): B.Sc. (Food Industrial Technology and Management)
เน้นทักษะของการบริหารจัดการอุตสาหกรรมอาหาร ผ่านการเรียนรู้ภาคปฏิบัติเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrated Learning : WIL) ตามโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ มุ่งเสริมสร้างประสบการณ์จากการปฏิบัติงานจริงร่วมกับสถานประกอบการ โดยนักศึกษาทุกคนจะต้องเข้าศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติงานเสมือนเป็นพนักงานจริงในสถานประกอบการ มีระยะเวลาไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของการเรียนตลอดหลักสูตร เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทำงานด้านการจัดการในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต วางแผนจัดทำระบบประกันคุณภาพ ควบคุมคุณภาพ วิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของโรงงาน เพื่อให้ระบบการผลิตมีประสิทธิภาพสูงสุด ภายใต้ต้นทุนอย่างประหยัด
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
👉 4. วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการกำหนดอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ
ชื่อปริญญา : วิทยาศาสตรบัณฑิต (การกำหนดอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ) (หลักสูตรนานาชาติ)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย) : วท.บ. (การกำหนดอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ)
อักษรย่อปริญญา (English) : B.Sc. (Dietetics and Nutrition for Health)
เน้นจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเป็นภาษาอังกฤษในศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร โภชนาการและการกำหนดอาหาร เพื่อกำหนดและแปรรูปอาหารที่ตอบสนองต่อการส่งเสริมสุขภาพตามช่วงวัยและอาหารทางการแพทย์ และการฝึกปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 900 ชั่วโมง ตามข้อกำหนดของสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย และสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเฉพาะเพื่อต่อยอดในเชิงพาณิชย์ การปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในสถานประกอบการแปรรูปอาหารชั้นนำรวมทั้งการศึกษาดูงานต่างประเทศ
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
การจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา
👉 หลักสูตรระดับปริญญาโท
หลักสูตรระดับปริญญาโท
ชื่อปริญญา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย) : วท.ม.
อักษรย่อปริญญา (English) : M.Sc.
มี 6 สาขาวิชา ดังนี้
👉 หลักสูตรระดับปริญญาเอก
หลักสูตรระดับปริญญาเอก
ชื่อปริญญา : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย) : ปร.ด.
อักษรย่อปริญญา (English) : Ph.D.
มี 3 สาขาวิชา ดังนี้
โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่
ข้อมูลการรับนักเรียนในระบบ TCAS รอบ 3
สำหรับสาขาวิชาที่ได้รับการคัดเลือกจากโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560
ข้อมูลลักษณะการเรียนการสอนของสาขาวิชาที่จะดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของโครงสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร เป็น หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 มีปรัชญาของหลักสูตร มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประยุกต์ใช้วิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและการจัดการ เพื่อปรับปรุง/พัฒนาและแก้ปัญหากระบวนการดำเนินงานในอุตสาหกรรมอาหาร ที่สามารถสนองตอบต่อปัญหาและความต้องการของภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริงอย่างเป็นระบบผ่านการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงาน และการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ พร้อมทั้งเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อตัวเองและสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาการและวิชาชีพ
ลักษณะการจัดแผนการศึกษาในแต่ละภาคการศึกษา ลงทะเบียนเรียน ให้ลงทะเบียนเรียนได้ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต และไม่เกิน 22 หน่วยกิต ในแต่ละภาคการศึกษาปกติ (ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี) โดยมีการกำหนดรายวิชาลงไปในแต่ละภาคการศึกษาให้เป็นไปตามลำดับ สอดคล้อง ต่อเนื่องกัน โดยเริ่มจากการเรียนวิชาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และ วิชาพื้นฐาน ในชั้นปีที่ 1 เรียนวิชาเฉพาะด้านและวิชาพื้นฐานวิชาชีพ โดยเฉพาะพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมอาหาร ในชั้นปีที่ 2 เรียนวิชาชีพ ในชั้นปีที่ 3 และ 4 โดยแบ่งวิชาชีพ ออกเป็น 3 สาขาหลักคือ การจัดการการผลิต การจัดการคุณภาพ และการบริหารธุรกิจ นอกจากนี้ การจัดการเรียนการสอนในชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2 จะเน้นให้บูรณาการความรู้ภาคทฤษฎีกับภาคปฏิบัติ ผ่านกระบวนการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงาน ณ สถานประกอบการ และในชั้นปีที่ 4 จะเน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ โดยในภาคการศึกษาที่ 1 เน้นการบูรณาการในรายวิชาเรียน เช่น การบริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การออกแบบโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร การบริหารผลิตภาพในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนในภาคการศึกษาที่ 2 เน้นให้บูรณาการความรู้เพื่อการแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้ ผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษา ดังแสดงแนวทางการจัดการเรียนการสอนสำหรับแต่ละชั้นปี ดังนี้
ภาคการศึกษาที่ 1 | ภาคการศึกษาที่ 2 | ภาคการศึกษาฤดูร้อน | |
ชั้นปีที่ 1 | เรียนศึกษาทั่วไป + วิชาพื้นฐาน | Pre-course Experience | |
ชั้นปีที่ 2 | เรียนวิชาพื้นฐานวิชาชีพ Industrial Problem Based | *Practicum (Optional) | |
ชั้นปีที่ 3 | เรียนวิชาชีพ | *Practicum Post-Course Internship | |
ชั้นปีที่ 4 | เรียนวิชาชีพ | *Cooperative Education (Project Based) | *(Optional) |
* ช่วงระยะเวลาการเรียนที่อยู่ในสถานประกอบการ
หลักเกณฑ์การคัดเลือกนักเรียน
- การรับนักเรียนในระบบ TCAS รอบ 3 ตามประกาศมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รายละเอียด
- สอบสัมภาษณ์ผู้ผ่านการคัดเลือก TCAS รอบ 3 เพื่อคัดเลือกเป็นนักศึกษาผู้รับทุนบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ
จำนวนรับนักเรียนเข้าร่วมโครงการ
- 30 คน/ปีการศึกษา
ค่าใช้จ่ายของนักเรียนในหลักสูตร
- ค่าลงทะเบียนเหมาจ่าย ภาคการศึกษาละ 18,000 บาท
- งบดำเนินการ สำหรับสนับสนุนการพัฒนานักศึกษาในโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ ได้แก่ เบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายในการทำโครงงาน และค่าฝึกอบรม ตลอดระยะเวลาการศึกษาในหลักสูตร