ในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติได้เสนอวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2573 (Agenda 2030) ซึ่งจะบรรลุเป้าหมายภายใน 15 ปี โดยเน้นให้ความสำคัญกับการปรับสมดุลทั้ง 3 มิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบบูรณาการและการมีส่วนร่วมเพื่อไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งสอดคล้องกับ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (อ้างอิงจาก: https://www.sdgmove.com) โดยเป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืนทั้ง 17 ข้อ (17 SDGs) ประกอบด้วย
เป้าหมายที่ 1: ขจัดความยากจน
เป้าหมายที่ 2: ขจัดความหิวโหย
เป้าหมายที่ 3: มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
เป้าหมายที่ 4: การศึกษาที่เท่าเทียม
เป้าหมายที่ 5: ความเท่าเทียมทางเพศ
เป้าหมายที่ 6: การจัดการน้ำและสุขาภิบาล
เป้าหมายที่ 7: พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้
เป้าหมายที่ 8: การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
เป้าหมายที่ 9: อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน
เป้าหมายที่ 10: ลดความเหลื่อมล้ำ
เป้าหมายที่ 11: เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน
เป้าหมายที่ 12: แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 13: การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เป้าหมายที่ 14: การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล
เป้าหมายที่ 15: การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก
เป้าหมายที่ 16: สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก
เป้าหมายที่ 17: ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน