หลักสูตรระดับปริญญาโท
ชื่อปริญญา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (อาหารสุขภาพและโภชนาการ)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย) : วท.ม. (อาหารสุขภาพและโภชนาการ)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ : Master of Science (Functional Food and Nutrition)
อักษรย่อปริญญา (English) : M.Sc. (Functional Food and Nutrition)
สาขาวิชาอาหารสุขภาพและโภชนาการ (พ.ศ. 2560)
สาขาวิชาอาหารสุขภาพและโภชนาการ (พ.ศ. 2555)
สาขาวิชาอาหารเพื่อสุขภาพและโภชนาการ (พ.ศ. 2552)
แนะนำหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาหารสุขภาพและโภชนาการ มุ่งเน้นให้มหาบัณฑิตมีความรู้ความเข้าใจแบบสหวิทยาการในกระบวนการสร้างและประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านอาหารสุขภาพและโภชนาการ เพื่อการพัฒนางานและสังคม และเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
วัตถุประสงค์
เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะต่อไปนี้
1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการบูรณาการ และเชื่อมโยงความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาหารสุขภาพและโภชนาการอย่างครบวงจร
2. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีศักยภาพในการวิจัยและพัฒนาอาหารสุขภาพและโภชนาการเพื่อสนับสนุนชุมชนและอุตสาหกรรม รวมทั้งสามารถทำงานในระดับผู้ประกอบการอิสระ นักวิจัย และนักวิชาการ
3. เพื่อนำองค์ความรู้ กระบวนการผลิต และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอาหารสุขภาพไปประยุกต์ใช้หรือแก้ปัญหาในท้องถิ่นและอุตสาหกรรม
4. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความตระหนักถึงคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1. นักวิจัย อาจารย์ หรือนักวิชาการด้านผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอาหารสุขภาพของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
2. ผู้ประกอบการอิสระเกี่ยวกับธุรกิจผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสุขภาพ
3. พนักงานฝ่ายวิจัยและพัฒนา/ ฝ่ายผลิต/ ฝ่ายประกันคุณภาพ/ ฝ่ายการตลาด และฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอาหารสุขภาพ
4. นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับอาหาร โภชนาการและวิทยาศาสตร์สุขภาพในหน่วยงานด้านการแพทย์หรือสาธารณสุข
5. เจ้าหน้าที่ฝ่ายขายและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาหารสุขภาพ โภชนาการ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ตามเกณฑ์มาตรฐาน คือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี หรือเทียบเท่าหลักสูตรปริญญาโท แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ
แผน ก แบบ ก 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการทำวิจัยในรูปวิทยานิพนธ์อย่างเดียว และกำหนดลงทะเบียนรายวิชา 859-596 สัมมนา 1 และ 859-597 สัมมนา 2 หรือมีกิจกรรมทางวิชาการอื่นเพิ่มเติมได้โดยไม่นับหน่วยกิต เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 หรือเทียบเท่าในกรณีที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.00 จะต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมดังนี้
- มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่มีการตรวจสอบคุณภาพหรือ peer review อย่างน้อย 1 เรื่อง หรือ
- มีประสบการณ์การวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ปี
แผน ก แบบ ก 2 เป็นแผนการศึกษาที่มีทั้งการเรียนรายวิชาต่าง ๆ และการทำวิทยานิพนธ์นอกจากนี้ หลักสูตรนี้สามารถเป็นหลักสูตรร่วม (Double degree) กับหลักสูตร.............เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้การรับเข้าของทั้งสองแผนจะพิจารณาจากคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาร่วมกับดุลยพินิจของผู้รับผิดชอบหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชา
|
แผน ก แบบ ก 1
|
แผน ก แบบ ก 2
|
หมวดวิชาบังคับ
|
-
|
12
|
หมวดวิชาเลือก
|
-
|
6
|
วิทยานิพนธ์
|
36
|
18
|
รวมไม่น้อยกว่า
|
36
|
36
|
หลักสูตรระดับปริญญาเอก
ชื่อปริญญา : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (อาหารสุขภาพและโภชนาการ)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย) : ปร.ด. (อาหารสุขภาพและโภชนาการ)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy (Functional Food and Nutrition)
อักษรย่อปริญญา (English) : Ph.D. (Functional Food and Nutrition)
สาขาวิชาอาหารสุขภาพและโภชนาการ (พ.ศ. 2560)
สาขาวิชาอาหารสุขภาพและโภชนาการ (พ.ศ. 2555)
สาขาวิชาอาหารเพื่อสุขภาพและโภชนาการ (พ.ศ. 2552)
แนะนำหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาหารสุขภาพและโภชนาการ มุ่งเน้นให้ดุษฎีบัณฑิตมีความสามารถแบบสหวิทยาการในการค้นคว้าวิจัยเชิงลึก เพื่อสรรค์สร้างองค์ความรู้หรือนวัตกรรมทางด้านอาหารสุขภาพและโภชนาการซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางาน สังคม และประเทศ และเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
วัตถุประสงค์
เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะต่อไปนี้
1. เพื่อผลิตปรัชญาดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการบูรณาการวิชาการเชิงลึก และเชื่อมโยงความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาหารสุขภาพและโภชนาการอย่างครบวงจร
2. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและมีศักยภาพสูงในการวิจัยและพัฒนาอาหารสุขภาพและโภชนาการเพื่อสนับสนุนชุมชนและอุตสาหกรรม ในฐานะผู้ประกอบการอิสระ นักวิจัยและ นักวิชาการ
3. เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในท้องถิ่นและอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของการแก้ปัญหาและการนำไปใช้ประโยชน์
4. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความตระหนักถึงคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1. อาจารย์ หรือนักวิชาการสาขาอาหารสุขภาพและที่เกี่ยวข้องในสถาบันการศึกษาของภาครัฐและเอกชน
2. ผู้ประกอบการอิสระเกี่ยวกับธุรกิจผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสุขภาพ
3. นักวิจัยด้านอาหารสุขภาพของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
4. พนักงานฝ่ายวิจัยและพัฒนา/ ฝ่ายผลิต/ ฝ่ายประกันคุณภาพ/ ฝ่ายการตลาด และฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอาหารสุขภาพ
5. นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับอาหาร โภชนาการและวิทยาศาสตร์สุขภาพในหน่วยงานด้านการแพทย์หรือสาธารณสุข
6. เจ้าหน้าที่ฝ่ายขายและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาหารสุขภาพ โภชนาการ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
หลักสูตรปริญญาเอก แบ่งการศึกษาเป็น 4 แบบ คือ
- แบบ 1.1 เป็นแผนการศึกษาสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ที่เน้นการทำวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์อย่างเดียว
- แบบ 1.2 เป็นแผนการศึกษาสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ที่เน้นการทำวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์อย่างเดียว
- แบบ 2.1 เป็นแผนการศึกษาสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ที่มีทั้งการเรียนรายวิชาต่าง ๆ และการทำวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์
- แบบ 2.2 เป็นแผนการศึกษาสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีทั้งการเรียนรายวิชาต่าง ๆ และการทำวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์
หลักสูตรแบบ 1 (วิทยานิพนธ์)
1) แบบ 1.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาอาหารสุขภาพและโภชนาการ วิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้อง หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือเทียบเท่าในกรณีที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.50 จะต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมดังนี้
1.1) มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่มีการตรวจสอบคุณภาพหรือ peer review อย่างน้อย 1 เรื่อง หรือ
1.2) มีประสบการณ์การวิจัยหรือทำงานในสาขาวิทยาศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ปี
2) แบบ 1.2 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้อง หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีผลการเรียนดีมาก
หลักสูตรแบบ 2 (เรียนรายวิชาและวิทยานิพนธ์)
1) แบบ 2.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาอาหารสุขภาพและโภชนาการ วิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้อง หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
2) แบบ 2.2 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้อง หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีผลการเรียนดีมาก
ทั้งนี้การรับเข้าของทั้งสองแผนจะพิจารณาคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาร่วมกับดุลยพินิจของผู้รับผิดชอบหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชา
|
แบบ 1
|
แบบ 2
|
แบบ 1.1
|
แบบ 1.2
|
แบบ 2.1
|
แบบ 2.2
|
หมวดวิชาบังคับ
|
-
|
-
|
9
|
17
|
หมวดวิชาเลือก
|
-
|
-
|
3
|
7
|
วิทยานิพนธ์
|
48
|
72
|
36
|
48
|
รวมไม่น้อยกว่า
|
48
|
72
|
48
|
72
|