วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
ชื่อปริญญา : วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): วท.บ. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร)
อักษรย่อปริญญา (English): B.Sc. (Food Science and Technology)
เน้นจัดการเรียนการสอนพื้นฐานวิทยาศาสตร์อาหาร ทั้งด้านเคมี จุลชีววิทยาและการวิเคราะห์คุณภาพ และทักษะทางเทคโนโลยีอาหาร ซึ่งรวมถึงกระบวนการผลิต การควบคุมและประกันคุณภาพ การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อาหาร การถนอมอาหารการวิจัยและพัฒนาอาหาร เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทำงานในฝ่ายผลิต/ ฝ่ายประกันคุณภาพ/ ฝ่ายออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและผลิตผลทางการเกษตร
แนะนำหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร มีความมุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร สามารถประยุกต์ร่วมกับความรู้เชิงวิศวกรรม เพื่อใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิตและการแปรรูป เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย เป็นไปตามมาตรฐานสากล บัณฑิตสามารถปรับเปลี่ยนและก้าวทันต่อการพัฒนาของเทคโนโลยี มีความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ สามารถศึกษาค้นคว้า บูรณาการเชื่อมโยงความรู้ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นผู้ที่มีจรรยาบรรณในวิชาชีพที่เป็นที่ยอมรับของสังคม
รายละเอียดหลักสูตร (พ.ศ.2560)
รายละเอียดหลักสูตร (พ.ศ.2554)
วัตถุประสงค์
เพื่อผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1) มีความรู้ ความสามารถทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติในด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร ตามมาตรฐานสากล และ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ได้อย่างเหมาะสม
2) มีความตระหนักถึงจรรยาบรรณในวิชาชีพ และมีความ รับผิดชอบต่อสังคม
3) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์และบูรณาการความรู้อย่างเป็น ระบบ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
4) มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาความรู้ และทักษะวิชาชีพของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง
5) มีทักษะการเป็นผู้นำ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และมีความสามารถในการสื่อสาร
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1) นักวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
2) พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ฝ่ายต่างๆ เช่น การผลิต ควบคุมคุณภาพ และ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
3) นักวิชาการ ครูและอาจารย์ทางสาขาที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารในหน่วยงานของทางราชการ/รัฐวิสาหกิจ
4) การทำงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น บริษัทจำหน่ายวัตถุดิบ หรือส่วนประกอบในการผลิต ผลิตภัณฑ์อาหาร ตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องมือในการผลิตหรือวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้อง นักวิเคราะห์โครงการในหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น
5) ผู้ประกอบการอาชีพอิสระด้านธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหาร
คุณสมบัติผู้สมัคร
1) ต้องสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ได้แก่ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์
2) ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และหรือเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของการคัดเลือกของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือ
3) ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์การคัดเลือกภายใต้ข้อกำหนดของ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
โครงสร้างหลักสูตร 139 หน่วยกิต ฝึกงาน 300 ช.ม.
หมวดวิชา |
เอกเดี่ยว (วิทยาศาสตร์การอาหาร) |
เอก-โท (พัฒนาผลิตภัณฑ์) |
วิชาทั่วไป |
31 |
31 |
วิชาเฉพาะพื้นฐาน |
37 |
37 |
เอกบังคับ - สหกิจศึกษา - โครงงานนักศึกษา |
50 47 |
50 47 |
เอกเฉพาะสาขา |
9 |
- |
เอกเลือก - สหกิจศึกษา - โครงงานนักศึกษา |
6 9 |
- - |
โทบังคับ |
- |
12 |
โทเลือก - สหกิจศึกษา - โครงงานนักศึกษา |
- - |
3 6 |
วิชาเลือกเสรี |
6 |
6 |
ฝึกงาน |
300 ช.ม. |
300 ช.ม. |
รวม |
139 หน่วยกิต |
139 หน่วยกิต |
อาจารย์ประจำหลักสูตร